วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2561

บทที่ 1 บทนำ

MIS
MIS



ความหมาย


  ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หรือ เอ็มไอเอส (อังกฤษmanagement information system - MIS) หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ หรือขั้นตอนที่ช่วยในการจัดเก็บสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารและการจัดการองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการนี้จะมีส่วนครอบคลุมถึง บุคคล เอกสาร เทคโนโลยี และขั้นตอนในการทำงาน เพื่อที่จะแก้ปัญหาทางธุรกิจไม่ว่าทาง ราคา สินค้า บริการ หรือกลยุทธต่างๆ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะแตกต่างจากระบบสารสนเทศทั่วไป กล่าวคือระบบนี้จะใช้ในการวิเคราะห์ระบบอื่นๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในทางวิชาการคำว่าระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการนี้ถูกใช้ในส่วนของรูปแบบการจัดการข้อมูล เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ หรือ ระบบช่วยในการตัดสินใจ


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ



          ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System) หมายถึง ระบบที่สร้างขึ้นตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อช่วยในการรวบรวม แยกประเภท ประมวลผล จัดเก็บ ค้นหา แจกจ่าย ข้อมูล เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ ประสานงาน และควบคุมการปฎิบัติงานทางธุรกิจ 

      สาเหตุในการนำระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมาใช้ในองค์การ
        1. การเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจโลก (Global Economy) นั่นคือ การดำเนินธุรกิจไม่ใช่เพียงในระดับท้องถิ่น แต่เป็นระบบเศรษฐกิจที่ครอบคลุมโลก สืบเนื่องจาก 
            1.1 ธุรกิจมีการขยายสาขา หรือหน่วยงานครอบคลุมโลก เกิดธุรกิจในรูปแบบบริษัทข้ามชาติ (Multinational Corporation : MNC) โดยตั้งโรงงานในประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ แล้วส่งสินค้าไปขายที่ต่างๆในโลก
            1.2 การแข่งขันในตลาดโลก การผลิตในปัจจุบันเป็นการผลิตแบบปริมาณมาก (Mass Product) โดยใช้เครื่องจักรในการผลิต เพื่อให้สินค้ามีคุณภาพตรงตามมาตราฐานสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ระบบสารสนเทศ เป็นเครื่องมือหลักที่จะสนับสนุนให้ธุรกิจมีความสามารถในการวิเคราะห์ ประสานงาน ควบคุมกระบวนการผลิต การให้บริการ
            1.3 การประสานงานร่วมกันระหว่างประเทศ  ระบบสารสนเทศจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางสำคัญในการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยน ความรู้ ข้อมูล วัฒนธรรม
        2. ผลกระทบจาก "โลกาภิวัตน์" (Globalization) เป็นผลมาจากพัฒนาการด้ารการติดต่อสื่อสาร ที่ติดต่อถึงกันอย่าง "ไร้พรมแดน" ประชาชน ณ จุดต่างๆ บนโลกสามารถรับรู้ข่าวสาร ข้อมูลจากอีกซีกโลกหนึ่งได้ในเวลาเกือบทันที
            2.1 ผลกระทบจากเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเทคโนโลยีสื่อสารทำให้ทั่วโลกได้รับรู้เหตุการณ์ต่างๆ ในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้น ผลกระทบที่เกิดจากเหตุการณ์ต่างๆ จึงรวดเร็วขึ้น เช่น เกิดการจลาจล ประท้วง ระบบสารสนเทศจึงเข้ามามีบทบาทในการค้นหา รวบรวม และประเมินผล ข้อมูลข่าวสาร เพื่อวิเคราะห์แนวทางในการแก้ปัณหาในธุรกิจ ให้ทันต่อเหตุการณ์
            2.2 ลูกค้าให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้า เนื่องจากการคมนาคมขนส่งที่สะดวกการส่งออกและนำเข้าสะดวกขึ้นและการเปิดเสรีทางการค้า ระบบสารสนเทศจึงเข้ามามีบทบาทต่อธุรกิจในเรื่องของการคิดค้น ผลิตภัณฑ์ ออกแบบ การควบคุมกระบวนการผลิต การให้บริการลูกค้า
            2.3 พฤติกรรมใช้คอมพิวเตอร์ของลูกค้า ระบบสารสนเทศจึงเข้ามามีบทบาทเกี่ยวกับช่องทางการจัดจำหน่าย เช่น การขายสินค้าบนอินเทอร์เน็ต การโฆษณาสินค้า เป็นต้น
        3. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์การ การใช้ทรัพยากรร่วมกันเพื่อให้เกิดความประหยัด การประยุกต์แนวคิด "องค์การแห่งการเรียนรู้" (Learning Organization) เพื่อให้องค์กรเกิดความตื่นตัว พร้อมที่จะปรับตัวให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์การได้แก่
            3.1 การออกแบบกระบวนการทางธุรกิจใหม่ (Business Improving by Using Business Process Reengineering : BPR)  คือ การนำนวัตกรรมมาประยุกต์ในองค์การ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 
            3.2 ลดต้นทุนในการผลิต ระบบสารสนเทศ ช่วยให้เกิดการการประหยัดในทุกๆด้าน ทั้งในด้านต้นทุน เวลา และพื้นที่ในการทำงาน
            3.3 การเปลี่ยนวิธีทำงาน การทำงานในปัจจุบันจะเน้นการทำงานทางไกลโดยใช้เทคโนโลยีเครือข่ายและการสื่อสารให้เป็นประโยชน์ 
        4. การเกิดขึ้นขององค์กรดิจิทัล  องค์กรจำนวนมากได้ปรับตัวโดยนำเทคโนโลยีเครือข่ายและอินเทอร์เน็ตมาใช้ให้เป้นประโยชน์
        5. นโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

กระบวนการของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
      เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทในการดำเนินงานขององค์การในปัจจุบันสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าและประสิทธิภาพการทำงานให้กับองค์กร กระบวนการเหล่านี้ประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญ 3 ขั้นตอน ส่วนนำเข้า (Input) การประมวลผล (Process) และการนำเสนอข้อมูล (Output) 
        1. การนำเข้า (Input) ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ เพื่อไปประมวลผล สิ่งที่นำเข้า คือ ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อมูลดิบ หรือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ที่ถูกเก็บรวบรวมจากแหล่งต่างๆ เช่น รหัสของสินค้า ชื่อสินค้า ราคาสินค้า เป็นต้น
        2. การประมวลผลข้อมูล (Process) คือขั้นตอนที่ทำหน้าที่เปลี่ยนข้อมูลนำเข้าให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายต่อองค์การ สามารถนำไปใช้งานได้
        3. การนำเสนอผลลัพธ์ (Output) คือส่วนที่นำข่าวสารหรือข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลไปนำเสนอให้ผู้ใช้ในรูปแบบของ "สารสนเทศ" (Information) และ "ความรู้" (Knowledge) 
            3.1 สารสนเทศ (Information) หมายถึง ผลที่เกิดจากการประมวลผลข้อมูล ถูกจัดอยูในรูปแบบของรายงาน ตัวเลข เสียง สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจ
            3.2 ความรู้ (Knowledge) หมายถึง การรับรู้ ความเข้าใจ ข้อมูล หรือสารสนเทศที่ถูกรวบรวม และวิเคราะห์ จนทำให้ผู้ใช้ข้อมูลเข้าใจในปัญหา และหาวิธีการแก้ปัญหาที่สามารถปฏิบัติได้จริง
        4. ผลป้อนกลับ (Feedback) หรือการตอบสนอง สารสนเทศบางระบบต้องการผลป้อนกลับ ซึ่งก็คือส่วนหนึ่งของข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว แต่ถูกกลับไปยังส่วนการนำเข้าข้อมูลอีกครั้ง เพื่อการตรวจสอบคุณภาพ


กระบวนการของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

คุณลักษณะของสารสนเทศ
         1. มีความถูกต้องแม่นยำ (accuracy) สารสนเทศที่ดีจะต้องตรงกับความเป็นจริงและเชื่อถือได้ สารสนเทศบางอย่างมีความสำคัญ หากไม่ตรงกับความเป็นจริงแล้ว อาจก่อห้เกิดความเสียหายได้ สารสนเทศที่ถูกต้องแม่นยำจะต้องเกิดจากการป้อนข้อมูลรวมถึงโปรแกรมที่ประมวลผลจะต้องถูกต้อง 

        2. ทันต่อเวลา (timeliness) สารสนเทศที่ดีต้องทันต่อการใช้งาน หมายถึง ข้อมูลที่ป้อนให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องมีความเป็นปัจจุบันทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ตัวอย่างเช่น ข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ปกครองนักเรียน จะต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัย หากหมายเลขโทรศัพท์ล้าสมัยก็จะไม่สามารถติดต่อกับผู้ปกครองได้หากเกิดกรณีฉุกเฉิน


        3. มีความสมบูรณ์ครอบถ้วน (complete) สารสนเทศที่ดีจะต้องมีความครบถ้วน สารสนเทศที่มีความครบถ้วนเกิดจากการเก็บข้อมูลได้ครบถ้วน หากเก็บข้อมูลเพียงบางส่วนก็จะไม่สามารถใช้ประโยชน์จากสารสนเทศได้เต็มประสิทธิภาพ ตัวอย่าง เช่น ข้อมูลนักเรียน ก็จะต้องมีการเก็บรายละเอียดเกี่ยวกับนักเรียนให้ได้มากที่สุด เช่น ชื่อ อายุ ที่อยู่ ชื่อผู้ปกครอง หมายเลขโทรศัพท์ โรคประจำตัว คะแนนที่ได้รับในแต่ละวิชา เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ครูสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ หากไม่มีข้อมูลของหมายเลขโทรศัพท์ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินก็จะไม่สามารถติดต่อกับผู้ปกครองได้เช่นเดียวกัน


        4. มีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ (relevancy) สารสนเทศจะต้องสอดคล้องกับความต้องการของผุ้ใช้ กล่าวคือ การเก็บข้อมูลต้องมีการสอบถามการใช้งาน              ของผู้ใช้ว่าต้องการในเรื่องใดบ้าง จึงจะสามารถสรุปสารสนเทศได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด ตัวอย่างเช่น หากต้องการเก็บข้อมูลของนักเรียนก็ต้องถามครู ว่าต้องการเก็บข้อมูลใดบ้าง เพื่อให้ครูสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง


        5. สามารถพิสูจน์ได้ (verifiable) สารสนเทศที่ดีจะต้องตรวจสอบแหล่งที่มาได้ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้ตรวจสอบความถูกต้องของสารสนเทศได้


องค์ประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

      
       คำว่าระบบ (System) หมายถึง กลุ่มของส่วนประกอบย่อยต่างๆ ที่มีการทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
ระบบสารสนเทศประกอบไปด้วยระบบย่อยต่างๆ ได้แก่
        1. ระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องมืออิเล็คทรอนิกส์ ซึ่งทำงานโดยอาศัยคำสั่ง สามารถเก็บรวบรวมข้อมูล เรียกใช้ข้อมูล จัดกระทำกับข้อมูล แสดงผลลัพธ์ และเก็บผลลัพธ์ไว้ใช้ในคราวต่อไปได้

1. ฮาร์ดแวร์

ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์รอบข้าง รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดตรวจเมื่อพิจารณาเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งเป็น  3 หน่วย คือ
        หน่วยรับข้อมูล (input unit) ได้แก่ แผงแป้นอักขระ เมาส์
        หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
        หน่วยแสดงผล (output unit) ได้แก่ จอภาพ เครื่องพิมพ์
2 . ซอฟต์แวร์
       ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการที่สอง ซึ่งก็คือลำดับขั้นตอนของคำสั่งที่จะสั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งาน ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติงาน ซอฟต์แวร์ควบคุมระบบงาน ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับงานต่างๆ ลักษณะการใช้งานของซอฟต์แวร์ก่อนหน้านี้ ผู้ใช้จะต้องติดต่อใช้งานโดยใช้ข้อความเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันซอฟต์แวร์มีลักษณะการใช้งานที่ง่ายขึ้น โดยมีรูปแบบการติดต่อที่สื่อความหมายให้เข้าใจง่าย เช่น มีส่วนประสานกราฟิกกับผู้ใช้ที่เรียกว่า กุย (Graphical User Interface : GUI) ส่วนซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีใช้ในท้องตลาดทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับบุคคลเป็นไปอย่างกว้างขวาง และเริ่มมีลักษณะส่งเสริมการทำงานของกลุ่มมากขึ้น ส่วนงานในระดับองค์กรส่วนใหญ่มักจะมีการพัฒนาระบบตามความต้องการโดยการว่าจ้าง หรือโดยนักคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร เป็นต้น
 ซอฟต์แวร์ คือ  ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์ แบ่งออกได้หลายประเภท เช่น
  • 1. ซอฟต์แวร์ระบบ  คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดการกับระบบคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ  เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดว์ส ระบบปฏิบัติการดอส ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
  • 2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์  คือ ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานด้านต่างๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ เช่นซอฟต์แวร์กราฟิก     ซอฟต์แวร์ประมวลคำ    ซอฟต์แวร์ตาราง      ทำงานซอฟต์แวร์นำเสนอข้อมูล  
  • 3. ข้อมูล
     ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ อาจจะเป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากจะต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์ ข้อมูลจำเป็นจะต้องมีมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์กร ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ
  • 4. บุคลากร
          บุคลากรในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม เป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ บุคลากรมีความรู้ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใดโอกาสที่จะใช้งานระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะระบบสารสนเทศในระดับบุคคลซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเองและพัฒนาระบบงานได้เองตามความต้องการ สำหรับระบบสารสนเทศในระดับกลุ่มและองค์กรที่มีความซับซ้อนจะต้องใช้บุคลากรในสาขาคอมพิวเตอร์โดยตรงมาพัฒนาและดูแลระบบงาน
  • 5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
          ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือของบุคลากรที่เกี่ยวข้องก็เป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอนในขณะที่ใช้งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติของคนและความสัมพันธ์กับเครื่อง ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการประมวลผล ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อเครื่องชำรุดหรือข้อมูลสูญหาย และขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูลสำรองเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะต้องมีการซักซ้อม มีการเตรียมการ และการทำเอกสารคู่มือการใช้งานที่ชัดเจน 

ระดับของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

การนำไปใช้งานสามารถแบ่งได้ 4 ระดับดังนี้
       1. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในการวางแผนนโยบาย กลยุทธ์ และการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง
       2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในส่วนยุทธวิธีในการวางแผนการปฏิบัตและการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง
       3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในระดับปฎิบัติการและการควบคุมในขั้นตอนนี้ผู้บริหารระดับล่างจะเป็นผู้ใช้สารสนเทศเพื่อช่วยในการปฎิบัติงาน
      4. ระบบสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผล
ระบบสารสนเทศเป็นระบบรวมทั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถเก็บรวบรวมในลักษณะระบบเดียวเนื่องจากขนาดข้อมูลมีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนมาก ทำให้การบริหารข้อมูลทำได้อยาก การนำไปใช้ไม่สะดวก จึงจำเป็นต้องแบ่งระบบสารสนเทศออกเป็นระบบย่อย 4 ส่วนได้แก่
  • ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System :TPS)
  • ระบบจัดการรายงาน (Management Reporting System :MRS)
  • ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System :DSS)
  • ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information System :OIS)




วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2561

บทที่ 2 องค์กร การจัดการ การตัดสินใจ

ความหมายขององค์กร      

       กลุ่มคนที่รวมตัวกันเพื่อดำเนินการในกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในการรวมตัวจะต้องมีการจัดระเบียบการติดต่อ การแบ่งงานกันทำและต้องมีการประสานประโยชน์ของแต่ละบุคคลด้วย ความหมายขององค์กรในลักษณะเป็นหน่วยงาน เพื่อประกอบกิจกรรม องค์กรในลักษณะนี้หมายถึงการรวมตัวของบุคคลจำนวนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มาช่วยทำกิจกรรม โดยมีวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งที่แน่นอน มีสถานที่ทำงานเป็นหน่วยงาน มีวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือและทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน มีการจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่มาร่วมปฏิบัติงาน ความหมายขององค์กรในลักษณะเป็นโครงสร้างของสังคม เพราะองค์กรเป็นศูนย์รวมของกิจการที่ประกอบขึ้นเป็นหน่วยงานเดียวกัน เมื่อหน่วยงานหลาย ๆ หน่วยงานรวมกันขึ้นจะมีลักษณะเป็นสังคม มี  การประสานกิจกรรมของกลุ่มบุคคลที่มีเป้าหมายร่วมกันให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการ องค์กร แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ องค์กรของรัฐ องค์กรธุรกิจ องค์กรรัฐวิสาหกิจ และองค์กรอาสาสมัคร

                1. องค์กรภาครัฐ องค์กรภาครัฐเป็นองค์กรที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการให้บริการแก่ประชาชน โดยไม่หวังผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจ ตัวอย่างองค์กรภาครัฐ ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา การพัฒนาฝีมือแรงงาน เป็นต้น

                2. องค์กรธุรกิจ องค์กรธุรกิจเป็นองค์กรที่จัดทำขึ้นเพื่อดำเนินกิจกรรมทางการค้าและทางธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร เช่น บริษัทห้างร้านต่าง ๆ ได้แก่ ธนาคาร ห้างสรรพสินค้า ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด เป็นต้น

                3. องค์กรรัฐวิสาหกิจ เป็นองค์กรที่รัฐเป็นเจ้าของและมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการเชิงการค้าที่ไม่หวังผลกำไร เช่น องค์กรขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นต้น


                4. องค์กรอาสาสมัคร เป็นองค์กรของเอกชนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์สังคมช่วยเหลือบรรเทาสาธารณภัย เช่น มูลนิธิร่วมกตัญญู มูลนิธิสายใจไทย เป็นต้น


องค์กรมีองค์ประกอบที่สำคัญ  ดังต่อไปนี้
       1.  วัตถุประสงค์ (objective) หรือจุดมุ่งหมายในการก่อตั้งองค์กร  เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติกิจกรรมหรือผลผลิตขององค์กร     
       2.  โครงสร้าง (stracture) องค์การจะต้องมีโครงสร้าง   โดยมีการจัดแบ่งหน่วยงานภายในตามหลักความชำนาญเฉพาะ  มีการกำหนดอำนาจหน้าที่และความสัมพันธ์ระหว่างภายในองค์การ
       3.  กระบวนการปฏิบัติงาน (process)  หมายถึง  แบบอย่างวิธีปฏิบัติที่เป็นแบบแผนคงที่แน่นอน  เพ่อให้ทุกคนในองค์การต้องยึดถือเป็นหลักในการปฏิบัติงาน
       4.  บุคคล (person) องค์การจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับบุคคลทั้งในลักษณะกลุ่มคนที่เป็นสมาชิกภายในองค์การ  ซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย  และยังต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกองค์การ ซึ่งได้แก่ ผู้รับบริการและผู้ให้การสนับสนุน

หลักการจัดการ
“การจัดการ” หมายถึง กระบวนการ กิจกรรมหรือการศึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในอันที่จะเชื่อมั่นได้ว่า กิจกรรมต่าง ๆ ดำเนินไปในแนวทางที่จะบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าที่อันที่จะสร้างและรักษาไว้ซึ่งสภาวะที่จะเอื้ออำนวยต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ ด้วยความพยายามร่วมกันของกลุ่มบุคคล

กระบวนการการจัดการ (Management process)


ผู้บริหารธุรกิจมีหน้าที่ในเรื่องของการจัดการกระบวนการการจัดการประกอบไปด้วยขั้นตอนที่สำคัญอยู่ 4 ขั้นตอน คือ


1. การวางแผน (Planning) เป็นกิจกรรมอันดับแรกที่สำคัญของผู้บริหารที่จะต้องมีการตัดสินใจเรื่องต่างๆเตรียมการไว้ล่วงหน้า เช่น มีการกำหนดเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจ เช่น จะขยายกิจการลงทุนสร้างโรงงานใหม่เพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเพื่อให้การบริหารงานประสบผลสำเร็จดังนั้นผู้บริหารจะต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบและรัดกุม


2. การจัดองค์การ (Organizing) เพื่อให้เป้าหมายของธุรกิจที่วางแผนไว้ล่วงหน้าประสบผลสำเร็จผู้บริหารจะมีการจัดโครงสร้างองค์กา มีการแบ่งงาน มอบหมายงาน จัดพนักงานในการปฏิบัติงานต่างๆ ในตำแหน่งต่างๆ ขององค์การ เพื่อให้การประสานงานระหว่างหน่วยงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


3. การนำ (Leading) หมายถึง การสั่งการ การชี้แนะ ของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานตามคำสั่ง หรือคำชี้แนะของผู้บังคับบัญชา เพื่อให้การทำงานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จลุล่วง ตามวัตถุประสงค์ขององค์การ ดังนั้นภาวะผู้นำ การจูงใจ การติดต่อสื่อสาร จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ผู้บริหารจะต้องคำนึงถึง


4. การควบคุม (Controlling) เป็นกิจกรรมขั้นสุดท้ายของกระบวนการบริหาร เพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้หรือไม่ ดังนั้นผู้บริหารจะต้องกำหนดเกณฑ์ มาตรฐาน เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินผล ปัจจุบันเกณฑ์การประเมินผลที่ธุรกิจใช้กันมากก็คือ การใช้ Benchmark กับกิจการคู่แข่งขันที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน


ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของผู้บริหาร จะต้องเสาะแสวงหากดึงดูด บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้าในองค์การ จูงใจรักษาพนักงานที่มีคุณภาพไว้ให้อยู่กับองค์กรนานๆ โดยพิจารณาถึงแนวทางการพัฒนาบุคลากรเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ



ความสำคัญของการการจัดการ


การจัดการมีผลต่อความสำเร็จขององค์กร แม้จะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ แต่สามารถวัดและประเมินผลได้ การจัดการทำให้การใช้ทรัพยากรมีความคุ้มค่าและเกิดประสิทธิผลในการผลิต นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณภาพชีวิตของพนักงานดีขึ้น และยังเป็นการแสวงหาวิธีการทำงานที่ดีที่สุด และความสำคัญประการสุดท้าย คือ การจัดการช่วยทำให้เกิดการจ้างงาน ทำให้ประชาชนมีรายได้ และสามารถแบ่งตามหัวข้อดังต่อไปนี้


1. มีกระบวนการจัดการที่ดี จะทำให้องค์การประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้


2. การจัดการเป็นเทคนิคที่ทำให้สมาชิกในองค์การเกิดจิตสำนึกร่วมกัน ในการปฏิบัติงาน มีความตั้งใจ


3. การจัดการเป็นกำหนดขอบเขตการทำงานของสมาชิกในองค์การ


4. การจัดการเป็นการแสวงหาวิธีการที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงาน


บทบาทหน้าที่ของผู้จัดการ
เรื่องของผู้นำนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก หลายองค์กรพยายามที่จะหาวิธีในการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารทุกระดับให้เกิดขึ้น เพื่อที่จะให้ผู้นำเหล่านี้ เป็นผู้ผลักดันความสำเร็จให้เกิดขึ้นกับองค์กร และจากผลการวิจัยขอมหวิทยาลัยมิชิแกน ในเรื่องของภาวะผู้นำนั้น ก็ยืนยันว่า องค์กรที่ประสบความสำเร็จนั้น เป็นผลมาจากการที่ผู้บริหารของตนมีภาวะผู้นำ และสามารถนำองค์กร นำคน ให้ไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ได้
ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เช่น ทำหน้าที่ผู้นำ การเป็นผู้บังคับบัญชามีบทบาทด้านการสื่อสาร เช่น การทำหน้าที่กำกับดูแล และมีบทบาทในการตัดสินใจ เช่น การแก้ไขปัญหา การจัดสรรทรัพยากรในองค์กร และมี บทบาทในฐานะนักเจรจาต่อรอง เป็นต้น


ผู้จัดการที่ดี ควรมีคุณสมบัติ


มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ของการบริหาร


ผู้บริหารจะบริหารงานให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้นั้นต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของทฤษฎีและหลักการบริหาร เพื่อจะได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการทำงาน สถานการณ์และสิ่งแวดล้อม จึงพูดได้ว่าผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จ คือ ผู้ที่สามารถประยุกต์เอาศาสตร์การบริหารไปใช้ได้อย่างมีศิลปะนั่นเอง


มีภาวะผู้นำ


เป็นกระบวนการของการใช้อิทธิพล ที่ผู้นำพยายามจะมีอิทธิพลเหนือผู้ตาม เพื่อให้มีพฤติกรรม การปฏิบัติงานตามต้องการโดยมีจุดมุ่งหมายขององค์การเป็นเป้าหมาย ไม่ใช่เรื่องของบุคคลที่จะพึงมีภาวะผู้นำได้โดยที่ไม่ได้มีการกระทำใด ๆ เป็นกระบวนการ (process) ให้เกิดอิทธิพลต่อผู้อื่น ดังนั้น ผู้นำทางจากการแต่งตั้ง เช่น ผู้อำนวยการ ผู้บัญชาการ อาจจะมีภาวะหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่ว่ามีลักษณะทั้ง 3 ประการหรือเปล่า ในทางตรงข้าม ผู้ที่แสดงภาวะผู้นำอาจจะไม่เป็นผู้นำที่แบบทางการ


มีวุฒิภาวะทางอารมณ์

มีความรับผิดชอบต่อพฤติกรรมของตนเองอยู่เสมอ ซื่อตรง เปิดรับและมองสิ่งต่างๆอย่างรอบด้านมีความสุขและสนุกกับชีวิต มองปัญหาต่างๆเป็นโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง


มีความคิดสร้างสรรค์

กระบวนการคิดของสมองซึ่งสามารถคิดได้หลากหลายและแปลกใหม่ สามารถนำไปประยุกต์ทฤษฎีหรือปฏิบัติได้อย่างรอบคอบและถูกต้อง จนนำไปสู่การคิดค้นและนวัตกรรม


มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี

การตัดสินใจ


ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ

ระบบการทำงานในอดีตมีการใช้ระบบสารสนเทศช่วยจัดการข้อมูลมีประสิทธิภาพไม่แน่นอน ไม่มีความสะดวก และมีคามยุ่งยากในการใช้งาน ปัจจุบันจึงได้มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาในการจัดการระบบสารสนเทศในองค์กรมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ
ระบบสารสนเทศ (Information Systems) คือ กระบวนการรวบรวม บันทึก ประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ และแจกจ่ายสารสนเทศเพื่อใช้ในการวางแผน คบคุมการทำงาน และช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจ

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561

บทที่3 INFORMATION TECHNOLOGY

Network ระบบเครือข่าย เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญอันดับแรก ในระบบสารสนเทศ ท่านผู้อ่านคงจะเคยได้ยินคำว่า Information Super Highway หรือทางด่วนข้อมูล เปรียบได้กับท่อสำหรับการส่งข้อมูล ไปให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ถ้าท่อมีขนาดใหญ่ ก็จะสามารถส่งข้อมูลได้รวดเร็ว สำหรับการวางแผนออกแบบระบบเครือข่ายของโรงพยาบาลในปัจจุบัน ต้องให้ความสำคัญกับ Bandwidth และการรักษาความ ปลอดภัยของระบบเป็นอันดับแรก รวมไปถึงการวางแผนการเชื่อมต่อเครือข่าย กับภายนอก การใช้ระบบเครือข่ายไร้สาย ( Wireless Network ) ควรจะต้องมีการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ อย่างแท้จริง ไม่ควรที่จะไปเชื่อผู้ขายมากนัก เพราะจะถูกวางยา โดยหลอกให้ซื้ออุปกรณ์ที่ตกรุ่น หรือไม่ก็เกินความจำเป็น ไม่เหมาะกับขนาดโรงพยาบาล นอกจากนี้ บางครั้งผู้ขายก็ไม่ได้มีเจตนาที่จะหลอกลวง แต่พนักงานขายไม่ได้เป็นผู้ใช้ ไม่มีความเข้าใจในความต้องการของโรงพยาบาล จึงให้คำเสนอแนะที่ไม่ตรงกับความต้องการของโรงพยาบาล เปรียบเหมือนกับการสร้างบ้าน ต้องดูที่ความต้องการของเจ้าของบ้านเป็นหลัก เพราะจะต้องเป็นผู้ที่อยู่อาศัยไปตลอด ส่วนสถาปนิก หรือผู้รับเหมาเสร็จงานแล้วเขาก็ไป 

             Database ระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล ซึ่งได้แก่ RDBMS ( Relational Database Management System ) ถือเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของระบบสารสนเทศ ผู้บริหารควรจะพิจารณาเลือก RDBMS ที่เหมาะสมกับโรง พยาบาล เพราะเป็นการลงทุนในระยะยาว โดยปัจจัยที่ควรจะคำนึงถึงก็คือ ต้องมีความมั่นคงของระบบ และมีการใช้อย่างแพร่หลาย เพราะจะสามารถหาผู้ดูแล ( Database Administrator ) ได้ง่าย สำหรับ RDBMS นี้ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ผมไม่แนะนำให้ใช้ Open Source เพราะว่า จากประสบการณ์ของผมพบว่า โปรแกรมพวกนี้ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ยังไม่นิ่ง มีการเปลี่ยน Version เร็วมาก และอาจจะมี Bug ที่รุนแรง ที่ยังไม่รู้จัก เมื่อใช้ไปแล้วมีการสูญหายของข้อมูล จะมีมูลค่าความเสียหายในเรื่องของชื่อเสียง และความเชื่อมั่นของผู้รับบริการ เป็นอย่างมาก             

Server ได้แก่เครื่อง Server ซึ่งปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ได้พัฒนาเข้าสู่ยุค 64 Bit แล้ว สำหรับระบบปฎิบัติการ ( Operating System ) ในปัจจุบันก็มี 2 ค่ายใหญ่ๆ ก็คือ Unix Base กับ Window Base ส่วนตัวผมแล้วแนะ นำให้ใช้ Open Source เพราะว่ามีความเสถียรมากกว่า และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก                                        

       Storage ในอดีตการเก็บข้อมูลจะอยู่ใน Hard disk ที่ติดอยู่กับเครื่อง Server แต่ปัจจุบันความต้อง การ Storage ได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบ PACS ทำให้ต้องมีการแยก Storage ออกมาบริหารจัดการต่างหาก ซึ่งต้องมีการออกแบบ วางแผน และการบริหารจัดการที่ดี ถ้าเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็ก มีขนาดข้อมูลไม่มาก ก็สามารถที่จะใช้ Storage ที่ติดตั้งภายในเครื่อง Server แต่ควรจะมีการทำเป็น RAID ( Redundant Arrays Of Inexpensive Disks ) เพื่อประกันความ ปลอดภัยของข้อมูล ในกรณีที่มี Hardware Failure ก็อาจจะเพียงพอ ส่วนโรงพยาบาลขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรงพยาบาลที่มีการวางแผนที่จะนำเอาระบบ PACS มาใช้ ก็ควรจะต้องมีการศึกษา และวางแผน Storage ให้ดี ซึ่งผมขอแนะนำว่า ควรจะต้องพิจารณาใช้ SAN ( Storage Area Network ) หรืออย่างน้อยก็ต้องเป็น NAS ( Network Attached Storage )              

         Security การรักษาความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ ถือเป็นหน้าที่สำคัญที่สุด ของการให้บริการสารสนเทศขององค์กร ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ จำเป็นต้องมีการออกแบบ และวางแผน Implement Security Policy มีคณะกรรมการ Security Committee คอยกำกับและดูแลว่ามีการปฎิบัติตาม ขั้นตอนที่วางไว้ มีระบบตรวจจับการบุกรุก IDS ( Intrusion Detection System ) ระบบป้องกันเครือข่าย ( Firewall ) ระบบ ป้องกันการบุกรุกโจมตีเครือข่าย IPS ( Intrusion Prevention System ) ระบบป้องกันไวรัส ( Anti Virus ) ระบบ ป้องกัน Spyware รวมถึงการวางแผนมาตรการแก้ปัญหาเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินขึ้น

Information Technology Infrastructure
โครงสร้างของ IT จะประกอบด้วย:
สิ่งอำนวยความสะดวกทางกายภาพต่าง ๆ ส่วนประกอบต่าง ๆ ของ IT การให้บริการ ด้านต่าง ๆ ของ IT, และ การบริหารด้าน IT ที่สนับสนุนการปฏิบัติงานทั่วทั้งองค์กร 
องค์หลัก ๆ IT Infrastructure ได้แก่ เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ 1) ด้านฮาร์ดแวร์ 2)ซอฟท์แวร์ 3) สิ่งอำนวยความสะด้วยในด้านโครงข่ายและการสื่อสาร 4) ฐานข้อมูล 5)บุคคลผู้ทำการบริหารจัดการสารสนเทศ และ รวมไปถึง การบริการด้าน IT ประกอบ ด้วย การพัฒนาระบบบริหารข้อมูล และ การรักษาความ ปลอดภัยในส่วนที่เกี่ยวข้อง 
นอกจากนั้น IT Infrastructure ยังประกอบด้วยทรัพยากรต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น รวมไปถึง การประ กอบเข้าด้วยกัน การทำงานร่วมกัน การจัดทำเอกสารต่าง ๆ การดูแลรักษา และ การจัดการ
Information Infrastructure (สรุปได้ดังรูป)
1) Hardware
2) Software
3) Networks & communication facilities
4) Databases
5) IS personnel 


สถาปัตยกรรมของ IT (Information technology architecture) หมายถึง แผนที่หรือ แบบแผนระดับสูงหนึ่ง ๆ ที่แสดงทรัพยากรต่างๆ เกี่ยวข้องกับสารสนเทศในองค์กรหนึ่ง ๆ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงแนวทางของการปฏิบัติงานในปัจจุบัน และเป็นพิมพ์เขียว (blueprint)ของทิศทางที่จะมุ่งไปในอนาคต เพื่อให้มั่นใจได้ว่า โครงสร้างของ IT ในองค์การนั้น ๆ สามารถรองรับกลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัทได้ ในการจัดเตรียม IT architecture ผู้ออกแบบจะต้องมีสารสนเทศอยู่ในมือสองส่วน ได้แก่:
- ธุรกิจนั้นต้องการสารสนเทศอะไร หมายถึง วัตถุประสงค์ต่างๆ ปัญหาต่าง ๆ ของ องค์กร รวมถึงการนำ IT เข้าไปมีส่วนร่วม (สนับสนุน) 
- IT infrastructure ที่มีอยู่แล้ว ถูกวางแผนเอาไว้แล้ว และ การประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ ในองค์กร มีอะไรบ้าง สารสนเทศในส่วนนี้รวมไปถึง ทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว ในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตด้วย 

- เทอม “Information Technology หรือ IT” บางครั้งมันสร้างความสับสนให้กับเรา เหมือนกัน ในเอกสารการสอนนี้ เราจะใช้ในความหมายกว้าง ๆ ดังนี้
- IT หมายถึง การรวบรวมทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศต่างๆ ในองค์กรหนึ่งๆ ผู้ใช้งานต่างๆ และ การบริหารสิ่งที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ทั้งนี้ รวมถึง โครงสร้างของ IT และ ระบบสารสนเทศอื่น ๆ ทั้งหมดในองค์กรนั้น ๆ
โดยทั่วไปแล้ว มักจะใช้สลับไปมาระหว่างคำว่า “information system”

Information Architecture According to Computing Paradigms (Environments) (มองในเชิงของฮาร์ดแวร์)
Computing Environment หมายถึงวิธีการซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ขององค์กร (hardware, software, และ communications technology) ถูกจัดแบ่งและรวมกลุ่มเข้า ด้วยกัน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีที่สุด (optimal efficiency and effectiveness)
1) Mainframe Environment มีใช้น้อยมากขอข้ามไป
2) PC Environment
PC-LANs
Wireless LANs (WLAN)
3) Distribution Computing หมายถึง สถาปัตยกรรมในการคำนวณที่แบ่งงานที่ต้อง ประมวลให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ สองเครื่องหรือมากกว่าทำงานร่วมกัน โดยผ่าน ทางการเชื่อมต่อของโครงข่ายหนึ่ง ๆ บางทีมักเรียกว่า การประมวลผลแบบกระจาย (distributed processing) 
ก) Client / server architecture
ประเภทหนึ่งของ distributed architecture ซึ่งแบ่ง distributed computing units ออกเป็นสองรูปแบบหลัก ๆ คือ ไคลเอ้นท์ (client) และ เซิร์ฟเวอร์ (server) เชื่อมต่อ เข้าด้วยกันโดยโครงข่ายหนึ่ง ๆ 
- ไคลเอ้นท์ (Client) คือ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง (เช่น PC ที่ต่ออยู่กับโครงข่ายหนึ่ง) ที่ใช้สำหรับติดต่อ(access) กับทรัพยากรต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกันผ่านโครงข่าย (shared network resources) 
- เซิร์ฟเวอร์ (Server) คือ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่ต่ออยู่กับโครงข่ายแบบไคลเอ้นท์ / เซิร์ฟเวอร์วงหนึ่ง และให้บริการไคลเอ้นท์ต่าง ๆ หลากหลายรูปแบบ
ข) Enterprise wide computing หมายถึง Computing environment ที่ซึ่งแต่ละ client/ server architecture ถูกใช้ทั่วทั้งองค์กร
ค) Legacy system: ระบบแบบเก่าซึ่งใช้จัดการกับการดำเนินธุรกรรมที่มีอยู่มากมายขององค์กร โดยถือว่าเป็นศูนย์กลางของการทำธุรกิจหนึ่ง ๆ 
ง) เพียร์-ทู-เพียร์ (Peer- to – Peer (P2P)) หมายถึง distribute computing network อันหนึ่งซึ่งแต่ละ client/server computer ใช้แฟ้มข้อมูลต่าง ๆ ร่วมกัน (shares files) หรือ ใช้ computer resources directory ร่วมกับส่วนอื่น ๆ แต่จะต้องไม่ทำตัวเป็นตัว กลางการให้บริการทั้งหมด (central service) (เหมือนกับ traditional client/ server architecture)

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 4 ฐานข้อมูลและระบบจัดการฐานข้อมูล



ระบบฐานข้อมูล (Database System) คือ ระบบที่รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกันเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีระบบ
  • บิต (bit) ย่อมาจาก Binary Digit ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ 1 บิต จะแสดงได้ 2 สถานะคือ 0 หรือ 1 การเก็บข้อมูลต่างๆได้จะต้องนำ บิต หลายๆ บิต มาเรียงต่อกัน เช่นนำ 8 บิต มาเรียงเป็น 1 ชุด เรียกว่า 1ไบต์ เช่น10100001 หมายถึง ก
  • 10100010 หมายถึง ข
  • เมื่อเรานำ ไบต์ (byte) หลายๆ ไบต์ มาเรียงต่อกัน เรียกว่า เขตข้อมูล (field) เช่น Name ใช้เก็บชื่อ LastName ใช้เก็บนามสกุล เป็นต้น
  • เมื่อนำเขตข้อมูล หลายๆ เขตข้อมูล มาเรียงต่อกัน เรียกว่า ระเบียน (record) เช่น ระเบียน ที่ 1 เก็บ ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด ของ นักเรียนคนที่ 1 เป็นต้น
  • การเก็บระเบียนหลายๆระเบียน รวมกัน เรียกว่า แฟ้มข้อมูล (File) เช่น แฟ้มข้อมูล นักเรียน จะเก็บ ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด ของนักเรียน จำนวน 500 คน เป็นต้น
  • การจัดเก็บ แฟ้มข้อมูล หลายๆ แฟ้มข้อมูล ไว้ภายใต้ระบบเดียวกัน เรียกว่า ฐานข้อมูล หรือ Database เช่น เก็บ แฟ้มข้อมูล นักเรียน อาจารย์ วิชาที่เปิดสอน เป็นต้น
วิวัฒนาการของ databaseRelational databaseDistributed databaseCloud databaseNoSQL databaseการ access database
  1. หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูล  การจัดเก็บข้อมูลแบบแฟ้มข้อมูล  โดยข้อมูลเรื่องเดียวกันอาจมีอยู่หลายแฟ้มข้อมูล ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งของข้อมูลได้  (  Inconsistency  )
  1. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้  ฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บข้อมูลรวมไว้ด้วยกัน  เมื่อผู้ใช้ต้องการข้อมูลจากฐานข้อมูล ซึ่งเป็นข้อมูลที่มาจากแฟ้มข้อมูลที่แตกต่างกันจะทำได้ง่าย
  1. สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล  การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะแฟ้มข้อมูล  อาจทำให้ข้อมูลประเภทเดียวกันถูกเก็บไว้หลาย ๆ แห่ง  ทำให้เกิดความซ้ำซ้อน  (Reclundancy  )  การนำข้อมูลมารวมเก็บไว้ในฐานข้อมูล จะช่วยลดปัญหาความซ้ำซ้อนได้
  1. รักษาความถูกต้อง  ฐานข้อมูลบางครั้งอาจมีข้อผิดพลาดขึ้น  เช่น  การป้อนข้อมูลผิด ซึ่งระบบการจัดการฐานข้อมูลสามารถระบุกฎเกณฑ์เพื่อควบคุมความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้
  1. สามารถกำหนดความเป็นมาตรฐานเดียวกันได้  เพราะในระบบฐานข้อมูลจะมีกลุ่มบุคคลที่คอยบริหารฐานข้อมูล  กำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ในการจัดเก็บข้อมูลในลักษณะเดียวกัน
  1. สามารถกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลได้  ผู้บริหารระบบฐานข้อมูลสามารถกำหนดการเรียกใช้ข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคนให้แตกต่างกันตามหน้าที่ ความรับผิดชอบได้ง่าย
  1. ความเป็นอิสระของข้อมูลและโปรแกรม  โปรแกรมที่ใช้ในแต่ละแฟ้มข้อมูลจะมีความสัมพันธ์กับแฟ้มข้อมูลโดยตรงถ้าหากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูลก็ทำการแก้ไขโปรแกรมนั้น ๆ
  1. มีต้นทุนสูง  ระบบฐานข้อมูลก่อให้เกิดต้นทุนสูง  เช่น  ซอฟท์แวร์ที่ใช้ในการจัดการระบบฐานข้อมูล  บุคลากร  ต้นทุนในการปฏิบัติงาน  และ  ฮาร์ดแวร์  เป็นต้น
  1. มีความซับซ้อน  การเริ่มใช้ระบบฐานข้อมูล  อาจก่อให้เกิดความซับซ้อนได้  เช่น  การจัดเก็บข้อมูล  การออกแบบฐานข้อมูล  การเขียนโปรแกรม  เป็นต้น
  1. การเสี่ยงต่อการหยุดชะงักของระบบ  เนื่องจากข้อมูลถูกจัดเก็บไว้ในลักษณะเป็นศูนย์รวม(CentralizedDatabase    System  )  ความล้มเหลวของการทำงานบางส่วนในระบบอาจทำให้ระบบฐานข้อมูลทั้งระบบหยุดชะงักได้
Database คืออะไรDatabase หรือ ฐานข้อมูล คือ กลุ่มของข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ โดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยไม่ได้บังคับว่าข้อมูลทั้งหมดนี้จะต้องเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลเดียวกันหรือแยกเก็บหลาย ๆ แฟ้มข้อมูลระบบฐานข้อมูล (Database System) คือ ระบบที่รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกันเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีระบบมีความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่าง ๆ ที่ชัดเจน ในระบบฐานข้อมูลจะประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลหลายแฟ้มที่มีข้อมูล เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเข้าไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบและเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถใช้งานและดูแลรักษาป้องกันข้อมูลเหล่านี้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีซอฟต์แวร์ที่เปรียบเสมือนสื่อกลางระหว่างผู้ใช้และโปรแกรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ฐานข้อมูล เรียกว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล หรือ DBMS (data base management system)มีหน้าที่ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายสะดวกและมีประสิทธิภาพ การเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้อาจเป็นการสร้างฐานข้อมูล การแก้ไขฐานข้อมูล หรือการตั้งคำถามเพื่อให้ได้ข้อมูลมา โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้เกี่ยวกับรายละเอียดภายในโครงสร้างของฐานข้อมูลส่วนประกอบแฟ้มข้อมูล (File) ระเบียน (Record) และ เขตข้อมูล (Field) และถูกจัดการด้วยระบบเดียวกัน โปรแกรมคอมพิวเตอร์จะเข้าไปดึงข้อมูลที่ต้องการได้ อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจเปรียบฐานข้อมูลเสมือนเป็น electronic filing systemการเข้าถึงข้อมูลในฐานข้อมูลจึงจำเป็นต้องมีระบบการจัดการฐานข้อมูลมาช่วยเรียกว่า database management system (DBMS) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการกับข้อมูล ตามความต้องการได้ในหน่วยงานใหญ่ๆอาจมีฐานข้อมูลมากกว่า 1 ฐานข้อมูลเช่น ฐานข้อมูลบุคลากร ฐานข้อมูลลูกค้า ฐานข้อมูลสินค้า เป็นต้น
Database ถูกพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ปี 1960 เริ่มต้นจาก hierarchical และ network databases จนมาถึงปี 1980 มีการนำเอา object-oriented-databases (OODBMS) มาใช้งาน ซึ่งเป็นพื่นฐานของระบบ relation database ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ในอีกมุมหนึง เราสามารถจัดแบ่งประเภทของ database ตามรูปแบบของชนิดข้อมูลได้ เช่น ตัวเลข,ตัวอักษร หรือ รูปภาพ บางครั้งก็อาจจะแบ่งตามความนิยมของ relational database เช่น distributed database, cloud database หรือ NoSQL database.Relational database ถูกคิดค้นขึ้นโดย E.F. Codd (IBM)ในปี 1970 เริ่มต้นสร้างขึ้นมาจากกลุ่มของ table ที่มีข้อมูลภายในโดยแบ่งออกเป็นตามประเภทที่ตั้งไว้ แต่ละ table จะมีอย่างน้อย 1 ชนิดของแต่ละ column และแต่ละ row จะมีข้อมูลตามที่ชนิดที่ colmuns ได้กำหนดไว้Standard Query Language (SQL) เป็นมาตราฐานที่ผู้ใช้งาน และ ระบบอื่นๆ ไว้เชื่อมต่อกับ relational database ซึ่งง่ายต่อการเพิ่มข้อมูลเข้าไป โดยไม่กระทบต่อโปรแกรมอื่นที่ใช้งานร่วมกันอยู่Distributed database เป็น ฐานข้อมูลที่ถูกเก็บกระจายออกไปหลายๆที่ โดยอาศัยกระบวนการแจกจ่าย และ สำรองข้อมูล ผ่านทางระบบ network ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบคือ-homogeneous – ระบบทั้งหมดทุกที่ต้องเป็น OS และ database ชนิดเดียวกัน-heterogeneous – ระบบที่งหมดจะเหมือนหรือต่างกันก็ได้ในแต่ละที่Cloud database เป็นฐานข้อมูลแบบใหม่ ที่ถูกปรับปรุงและสร้างขึ้นบนระบบ virtualized แบบเดียวกับ hybrid cloud, public cloud หรือ private cloud โดยเราสามารถขยายขนาดเพิ่มขึ้น หรือ ปรับแต่ง resource ได้ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งานcloud databaseNoSQL database ถูกใช้ในรูปแบบ ที่เป็นการกระจายของข้อมูล จึงมีประสิทธิ์ภาพสูงสำหรับข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) เพราะ relational database ไม่ถูกออกมาให้รอบรับข้อมูลขนาดใหญ่ จึงนิยมใช้กับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ที่ไม่ค่อยมีรูปแบบตายตัวnosqlมีด้วยกัน 2 แบบคือ– Database management system (DBMS) เป็น software ที่ควบคุมและบริหารข้อมูลภายในฐานข้อมูล– Relational database management system (RDBMS) ถูกพัฒนาขึ้นในปี 1970เพื่อเข้าถึง ฐานข้อมูลแบบ relational และยังคงได้รับความนิยมจนถึงปัจจุบันประโยชน์ของฐานข้อมูล1. ลดการเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อน ข้อมูลบางชุดที่อยู่ในรูปของแฟ้มข้อมูลอาจมีปรากฏอยู่หลาย ๆ แห่ง เพราะมีผู้ใช้ข้อมูลชุดนี้หลายคน เมื่อใช้ระบบฐานข้อมูลแล้วจะช่วยให้ความซ้ำซ้อนของข้อมูลลดน้อยลง2. รักษาความถูกต้องของข้อมูล เนื่องจากฐานข้อมูลมีเพียงฐานข้อมูลเดียว ในกรณีที่มีข้อมูลชุดเดียวกันปรากฏอยู่หลายแห่งในฐานข้อมูล ข้อมูลเหล่านี้จะต้องตรงกัน ถ้ามีการแก้ไขข้อมูลนี้ทุก ๆ แห่งที่ข้อมูลปรากฏอยู่จะแก้ไขให้ถูกต้องตามกันหมดโดยอัตโนมัติด้วยระบบจัดการฐานข้อมูล3. การป้องกันและรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลทำได้อย่างสะดวก การป้องกันและรักษาความปลอดภัยกับข้อมูลระบบฐานข้อมูลจะให้เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้นซึ่งก่อให้เกิดความปลอดภัย(security) ของข้อมูลด้วยข้อดีของฐานข้อมูลการจัดเก็บข้อมูลเป็นฐานข้อมูลได้เปรียบกว่าการจัดเก็บข้อมูลแบบแฟ้มข้อมูล  ดังนี้ข้อเสียของฐานข้อมูลการเก็บข้อมูลรวมเป็นฐานข้อมูลมีข้อเสีย  ดังนี้คือระบบจัดการฐานข้อมูล ( Database Management System) หรือที่เรียกว่า   ดีบีเอ็มเอส (DBMS)คือซอฟต์แวร์สำหรับบริหารและจัดการฐานข้อมูล เปรียบเสมือนสื่อกลางระหว่างผู้ใช้และโปรแกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ฐานข้อมูล ซึ่งมีหน้าที่ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายสะดวกและมีประสิทธิภาพ การเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ อาจเป็นการสร้างฐานข้อมูล การแก้ไขฐานข้อมูล หรือการตั้งคำถามเพื่อให้ได้ข้อมูลมาโดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้เกี่ยวกับรายละเอียดภายในโครงสร้างของฐานข้อมูล เปรียบเสมือนเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้และโปรแกรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ฐานข้อมูลซึ่งต่างจากระบบแฟ้มข้อมูลที่หน้าที่เหล่านี้จะเป็นหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์หน้าที่ของระบบการจัดการฐานข้อมูล
  1. แปลงคำสั่งที่ใช้จัดการกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล ให้อยู่ในรูปแบบที่ฐานข้อมูลเข้าใจ
  1. นำคำสั่งต่าง ๆ ซึ่งได้รับการแปลแล้ว ไปสั่งให้ฐานข้อมูลทำงาน เช่น การเรียกใช้ (Retrieve) จัดเก็บ (Update) ลบ (Delete) เพิ่มข้อมูล (Add) เป็นต้น
  1. ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล โดยจะคอยตรวจสอบว่าคำสั่งใดที่สามารถทำงานได้ และคำสั่งใดที่ไม่สามารถทำงานได้
  1. รักษาความสัมพันธ์ของข้อมูลภายในฐานข้อมูลให้มีความถูกต้องอยู่เสมอ
  1. เก็บรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลภายในฐานข้อมูลไว้ในพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้มักจะถูกเรียกว่า เมทาดาต้า (MetaData) ซึ่งหมายถึง "ข้อมูลของข้อมูล"
  1. ดูแลการใช้งานให้กับผู้ใช้ ในการติดต่อกับตัวจัดการระบบแฟ้มข้อมูลได้ โดยจะทำหน้าที่ติดต่อกับระบบแฟ้มข้อมูลซึ่งเสมือนเป็นผู้จัดการแฟ้มข้อมูล (file manager) นำข้อมูลจากหน่วยความจำสำรองเข้าสู่หน่วยความจำหลักเฉพาะส่วนที่ต้องการใช้งาน และทำหน้าที่ประสานกับตัวจัดการระบบแฟ้มข้อมูลในการจัดเก็บ เรียกใช้ และแก้ไขข้อมูล
  1. ควบคุมการใช้ข้อมูลพร้อมกัน (Concurrency Control) ในระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ปัจจุบัน โปรแกรมการทำงานมักจะเป็นแบบผู้ใช้หลายคน (Multi User) จึงทำให้ผู้ใช้แต่ละคนสามารถเรียกใช้ข้อมูลได้พร้อมกัน ระบบจัดการฐานข้อมูลที่มีคุณสมบัติควบคุมการใช้ข้อมูลพร้อมกันนี้ จะทำการควบคุมการใช้ข้อมูลพร้อมกันของผู้ใช้หลายคนในเวลาเดียวกันได้ โดยมีระบบการควบคุมที่ถูกต้องเหมาะสม เช่น ถ้าการแก้ไขข้อมูลนั้นยังไม่เรียบร้อย ผู้ใช้อื่นๆ ที่ต้องการเรียกใช้ข้อมูลนี้จะไม่สามารถเรียกข้อมูลนั้นๆ ขึ้นมาทำงานใดๆ ได้ ต้องรอจนกว่าการแก้ไขข้อมูลของผู้ที่เรียกใช้ข้อมูลนั้นก่อนจะเสร็จเรียบร้อย จึงจะสามารถเรียกข้อมูลนั้นไปใช้งานต่อได้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการเรียกใช้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
  1. ควบคุมระบบความปลอดภัยของข้อมูลโดยป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาเรียกใช้หรือแก้ไขข้อมูลในส่วนป้องกันเอาไว้ พร้อมทั้งสร้างฟังก์ชันในการจัดทำข้อมูลสำรอง
  1. ควบคุมการใช้ข้อมูลในสภาพที่มีผู้ใช้พร้อม ๆ กันหลายคน โดยจัดการเมื่อมีข้อผิดพลาดของข้อมูลเกิดขึ้น
ระบบจัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน
  1. ออราเคิล (Oracle)
  1. ไมโครซอฟท์ เอสคิวแอล เซิร์ฟเวอร์ (Microsoft SQL Server)
  1. มายเอสคิวแอล (MySQL)
  1. ไมโครซอฟต์ แอคเซส (Microsoft Access)
  1. ไอบีเอ็ม ดีบีทู (IBM DB/2)
  1. ไซเบส (Sybase)
  1. PostgreSQL
  1. Progress
  1. Interbase
  1. Firebird
  1. Pervasive SQL
  1. แซพ ดีบี (SAP DB)

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 5 โทรคมนาคม อินเตอร์เน็ต เทคโนโลยีไร้สาย

โทรคมนาคม หมายถึงอะไร คืออะไร (Telecommunication)
                โทรคมนาคม คือการขยายขอบเขตของการสื่อสารให้มีผลในระยะไกล ในทางปฏิบัติแล้ว เรายอมรับว่าเมื่อมีการขยายขอบเขตดังกล่าวแล้ว อะไรบางอย่างอาจต้องมีการสูญเสียไป ดังนั้นคำว่า โทรคมนาคม นั้น จะรวมถึงรูปแบบทั้งหมดของการสื่อสารดั้งเดิม ที่มีการดัดแปลงหรือปรับปรุงให้สามารถสื่อสารได้ระยะไกล ซึ่งรวมถึง วิทยุ โทรเลข โทรทัศน์ โทรศัพท์ การสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์
                ระบบโทรคมนาคม ได้คิดค้นและพัฒนาโดยวิศวกรโทรคมนาคม และผู้ที่มีชื่อเสียงในแวดวงโทรคมนาคมนี้ ได้แก่ อเล็กซานเดอร์ เบลล์ (Alexander Bell) ผู้คิดค้นโทรศัพท์จอห์น โลกี้ แบรด (John Logie Baird) ผู้คิดค้นโทรทัศน์ และ กูลเลียโม มาโคนี่ (Guglielmo Marconi) ผู้คิดค้นวิทยุสื่อสาร ในไม่นานมานี้ใยแก้วนำแสงถูกใช้เพิ่มแบนวิทด์ให้กับการเชื่อมต่อกันระหว่างระบบสื่อสาร ซึ่งทำให้ระบบสื่อสารรวดเร็วขึ้น ระบบอินเทอร์เน็ตมีความรวดเร็ว สามารถให้บริการโทรทัศน์ดิจิตอลออนไลน์ได้ ซึ่งจะให้ภาพคมชัดกว่าแบบเดิม
การสื่อสารโทรคมนาคม อาจแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1. การสื่อสารที่เชื่อมต่อด้วยสาย (Wired) ยกตัวอย่าง เช่น โครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน โครงข่ายโทรเลข เป็นต้น
2. การสื่อสารที่เชื่อมต่อแบบไร้สาย (Wireless) ยกตัวอย่าง เช่น โครงข่ายโทรศัพท์มือถือ โครงข่ายดาวเทียม เป็นต้น

อินเทอร์เน็ต คืออะไร
                อินเทอร์เน็ต(Internet) คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายขนาดเล็กมากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวทั้งโลก หรือเครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย สำหรับคำว่า internet หากแยกศัพท์จะได้มา คำ คือ คำว่า Inter และคำว่า net ซึ่ง Inter หมายถึงระหว่าง หรือท่ามกลาง และคำว่า Net มาจากคำว่า Network หรือเครือข่าย เมื่อนำความหมายของทั้ง คำมารวมกัน จึงแปลว่า การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย IP (Internet protocal) Address คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกันใน internet ต้องมี IP ประจำเครื่อง ซึ่ง IP นี้มีผู้รับผิดชอบคือ IANA (Internet assigned number authority) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่ควบคุมดูแล IPV4 ทั่วโลก เป็น Public address ที่ไม่ซ้ำกันเลยในโลกใบนี้ การดูแลจะแยกออกไปตามภูมิภาคต่าง ๆ สำหรับทวีปเอเชียคือ APNIC (Asia pacific network information center) แต่การขอ IP address ตรง ๆ จาก APNIC ดูจะไม่เหมาะนัก เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เชื่อมต่อด้วย Router ซึ่งทำหน้าที่บอกเส้นทาง ถ้าท่านมีเครือข่ายของตนเองที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก็ควรขอ IP address จาก ISP (Internet Service Provider) เพื่อขอเชื่อมต่อเครือข่ายผ่าน ISP และผู้ให้บริการก็จะคิดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อตามความเร็วที่ท่านต้องการ เรียกว่า Bandwidth เช่น 2 Mbps แต่ถ้าท่านอยู่ตามบ้าน และใช้สายโทรศัพท์พื้นฐาน ก็จะได้ความเร็วในปัจจุบันไม่เกิน 56 Kbps ซึ่งเป็น speed ของ MODEM ในปัจจุบัน
                IP address คือเลข ชุด หรือ 4 Byte เช่น 203.158.197.2 หรือ 202.29.78.12 เป็นต้น แต่ถ้าเป็นสถาบันการศึกษาโดยทั่วไปจะได้ IP มา 1 Class C เพื่อแจกจ่ายให้กับ Host ในองค์กรได้ใช้ IP จริงได้ถึง 254 เครื่อง เช่น 203.159.197.0 ถึง 203.159.197.255 แต่ IP แรก และ IP สุดท้ายจะไม่ถูกนำมาใช้ จึงเหลือ IP ให้ใช้ได้จริงเพียง 254 หมายเลข
1 Class C หมายถึง Subnet mask เป็น 255.255.255.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 254
1 Class B หมายถึง Subnet mask เป็น 255.255.0.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 66,534
1 Class A หมายถึง Subnet mask เป็น 255.0.0.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 16,777,214
ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต
เป็นแหล่งข้อมูลที่ลึก และกว้าง เพราะข้อมูลถูกสร้างได้ง่าย แม้นักเรียน หรือผู้สูงอายุก็สร้างได้
เป็นแหล่งรับ หรือส่งข่าวสาร ได้หลายรูปแบบ เช่น mail, board, icq, irc, sms หรือ web เป็นต้น
เป็นแหล่งให้ความบันเทิง เช่น เกม ภาพยนตร์ ข่าว หรือห้องสะสมภาพ เป็นต้น
เป็นช่องทางสำหรับทำธุรกิจ สะดวกทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย เช่น e-commerce หรือบริการโอนเงิน เป็นต้น
ใช้แทน หรือเสริมสื่อที่ใช้ติดต่อสื่อสาร ในปัจจุบัน โดยเสียค่าใช้จ่าย และเวลาที่ลดลง
เป็นช่องทางสำหรับประชาสัมพันธ์สินค้า บริการ หรือองค์กร

ประวัติความเป็นมา
ประวัติในระดับนานาชาติ
อินเทอร์เน็ต เป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2503(ค.ศ.1960)
พ.ศ.2512(ค.ศ.1969) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง และในปีพ.ศ.2512 นี้เองได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จาก แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลองแอนเจลิส สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาร์บารา และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีพ.ศ.2518(ค.ศ.1975) จึงเปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่ หน่วยงานการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ(Defense Communications Agency 
ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก IAB(Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ใน Internet IETF(Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น
พ.ศ.2526(ค.ศ.1983) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform และสื่อสารกันได้ถูกต้อง
การกำหนดชื่อโดเมน(Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ พ.ศ.2529(ค.ศ.1986) เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย(Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น
- DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง พ.ศ.2533(ค.ศ.1990) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ(National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน
ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ตัดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก

ประวัติความเป็นมาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เริ่มต้นเมื่อปีพ.ศ.2530(ค.ศ.1987) โดยการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(http://www.psu.ac.th)และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (http://www.ait.ac.th) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย(http://www.unimelb.edu.au) แต่ครั้งนั้นยังเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ (Dial-up line) ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้า และไม่เสถียร จนกระทั่ง ธันวาคม ปีพ.ศ.2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย แห่ง เข้าด้วยกัน (Chula, Thammasat, AIT, Prince of Songkla, Kasetsart and NECTEC) โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่า ไทยสาร(http://www.thaisarn.net.th) และขยายออกไปในวงการศึกษา หรือไม่ก็การวิจัย การขยายตัวเป็นไปอย่างต่อเนื่องจนเดือนกันยายน ปี พ.ศ.2537 มีสถาบันการศึกษาเข้าร่วมถึง 27 สถาบัน และความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตของเอกชนมีมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย (http://www.cat.or.th) เปิดโอกาสให้ภาคเอกชน สามารถเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP - Internet Service Provider) และเปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไป สามารถเชื่อมต่อ Internet ผ่านผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย

เทคโนโลยีไร้สาย BLUETOOTH คืออะไร?
                เทคโนโลยีไร้สาย BLUETOOTH เป็นเทคโนโลยีไร้สายระยะสั้นที่สนับสนุนการสื่อสารข้อมูลแบบไร้สายระหว่างอุปกรณ์ดิจิตอล อย่างเช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และกล้องถ่ายภาพดิจิตอล เทคโนโลยีไร้สาย BLUETOOTH สามารถใช้งานได้ภายในช่วงระยะ 10 เมตร
                การเชื่อมต่ออุปกรณ์สองชิ้นเข้าด้วยกันเป็นรูปแบบการใช้งานตามปกติ แต่อุปกรณ์บางชนิดสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นมากกว่าสองชิ้นได้ในเวลาเดียวกัน
                ท่านไม่จำเป็นต้องใช้สายเคเบิ้ลเพื่อทำการเชื่อมต่อ และไม่จำเป็นต้องวางอุปกรณ์ใกล้กันและหันเข้าหากันเหมือนการใช้เทคโนโลยีอินฟราเรด ตัวอย่างเช่น ท่านสามารถใช้งานอุปกรณ์ได้จากกระเป๋าถือหรือกระเป๋าเสื้อ/กางเกง
                มาตรฐาน BLUETOOTH เป็นมาตรฐานสากลที่ได้รับการสนับสนุนจากหลายพันบริษัททั่วโลก และมีบริษัทจำนวนมากนำไปใช้งานจนแพร่หลายทั่วโลก

ระยะสูงสุดที่สามารถใช้สื่อสารข้อมูล
ระยะสูงสุดที่สามารถใช้สื่อสารข้อมูลอาจสั้นลงได้ในกรณีต่อไปนี้
มีสิ่งกีดขวางอย่างเช่น คนโลหะ หรือกำแพง อยู่ระหว่างอุปกรณ์ที่ใช้กับอุปกรณ์ BLUETOOTH
มีอุปกรณ์ LAN ไร้สายใช้งานอยู่ในบริเวณใกล้กับอุปกรณ์ของท่าน
มีไมโครเวฟใช้งานอยู่ในบริเวณใกล้กับอุปกรณ์ของท่าน
มีอุปกรณ์ที่สร้างรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าใช้งานอยู่ในบริเวณใกล้กับอุปกรณ์ของท่าน

การรบกวนจากอุปกรณ์อื่น
เนื่องจากอุปกรณ์ BLUETOOTH และระบบ LAN ไร้สาย (IEEE802.11b/g) ใช้งานความถี่เดียวกัน อาจทำให้เกิดการรบกวนกันของคลื่นไมโครเวฟได้ ส่งผลให้ความเร็วการสื่อสารข้อมูลลดลงเกิดสัญญาณรบกวน หรือไม่สามารถทำการเชื่อมต่อได้ หากใช้งานอุปกรณ์ของท่านใกล้กับอุปกรณ์ LAN ไร้สาย หากเกิดกรณีดังกล่าว ให้ดำเนินการดังนี้
-          ใช้งานอุปกรณ์ที่ระยะห่างอย่างน้อย 10 เมตรจากอุปกรณ์ LAN ไร้สาย

-          หากใช้งานอุปกรณ์ภายในระยะ 10 เมตรจากอุปกรณ์ LAN ไร้สาย ให้ปิดอุปกรณ์ LAN ไร้สาย

การรบกวนที่มีต่ออุปกรณ์อื่น
คลื่นไมโครเวฟที่แผ่ออกมาจากอุปกรณ์ BLUETOOTH อาจส่งผลรบกวนการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์ได้ ให้ปิดอุปกรณ์ของท่านและอุปกรณ์ BLUETOOTH อื่นในสถานที่ต่อไปนี้ เพราะอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
-          ในบริเวณที่มีก๊าซติดไฟง่ายในโรงพยาบาลรถไฟเครื่องบิน หรือในสถานีบริการน้ำมัน
-          ใกล้ประตูอัตโนมัติหรืออุปกรณ์แจ้งเตือนไฟไหม้