วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 5 โทรคมนาคม อินเตอร์เน็ต เทคโนโลยีไร้สาย

โทรคมนาคม หมายถึงอะไร คืออะไร (Telecommunication)
                โทรคมนาคม คือการขยายขอบเขตของการสื่อสารให้มีผลในระยะไกล ในทางปฏิบัติแล้ว เรายอมรับว่าเมื่อมีการขยายขอบเขตดังกล่าวแล้ว อะไรบางอย่างอาจต้องมีการสูญเสียไป ดังนั้นคำว่า โทรคมนาคม นั้น จะรวมถึงรูปแบบทั้งหมดของการสื่อสารดั้งเดิม ที่มีการดัดแปลงหรือปรับปรุงให้สามารถสื่อสารได้ระยะไกล ซึ่งรวมถึง วิทยุ โทรเลข โทรทัศน์ โทรศัพท์ การสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์
                ระบบโทรคมนาคม ได้คิดค้นและพัฒนาโดยวิศวกรโทรคมนาคม และผู้ที่มีชื่อเสียงในแวดวงโทรคมนาคมนี้ ได้แก่ อเล็กซานเดอร์ เบลล์ (Alexander Bell) ผู้คิดค้นโทรศัพท์จอห์น โลกี้ แบรด (John Logie Baird) ผู้คิดค้นโทรทัศน์ และ กูลเลียโม มาโคนี่ (Guglielmo Marconi) ผู้คิดค้นวิทยุสื่อสาร ในไม่นานมานี้ใยแก้วนำแสงถูกใช้เพิ่มแบนวิทด์ให้กับการเชื่อมต่อกันระหว่างระบบสื่อสาร ซึ่งทำให้ระบบสื่อสารรวดเร็วขึ้น ระบบอินเทอร์เน็ตมีความรวดเร็ว สามารถให้บริการโทรทัศน์ดิจิตอลออนไลน์ได้ ซึ่งจะให้ภาพคมชัดกว่าแบบเดิม
การสื่อสารโทรคมนาคม อาจแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1. การสื่อสารที่เชื่อมต่อด้วยสาย (Wired) ยกตัวอย่าง เช่น โครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน โครงข่ายโทรเลข เป็นต้น
2. การสื่อสารที่เชื่อมต่อแบบไร้สาย (Wireless) ยกตัวอย่าง เช่น โครงข่ายโทรศัพท์มือถือ โครงข่ายดาวเทียม เป็นต้น

อินเทอร์เน็ต คืออะไร
                อินเทอร์เน็ต(Internet) คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายขนาดเล็กมากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวทั้งโลก หรือเครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย สำหรับคำว่า internet หากแยกศัพท์จะได้มา คำ คือ คำว่า Inter และคำว่า net ซึ่ง Inter หมายถึงระหว่าง หรือท่ามกลาง และคำว่า Net มาจากคำว่า Network หรือเครือข่าย เมื่อนำความหมายของทั้ง คำมารวมกัน จึงแปลว่า การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย IP (Internet protocal) Address คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกันใน internet ต้องมี IP ประจำเครื่อง ซึ่ง IP นี้มีผู้รับผิดชอบคือ IANA (Internet assigned number authority) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่ควบคุมดูแล IPV4 ทั่วโลก เป็น Public address ที่ไม่ซ้ำกันเลยในโลกใบนี้ การดูแลจะแยกออกไปตามภูมิภาคต่าง ๆ สำหรับทวีปเอเชียคือ APNIC (Asia pacific network information center) แต่การขอ IP address ตรง ๆ จาก APNIC ดูจะไม่เหมาะนัก เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เชื่อมต่อด้วย Router ซึ่งทำหน้าที่บอกเส้นทาง ถ้าท่านมีเครือข่ายของตนเองที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก็ควรขอ IP address จาก ISP (Internet Service Provider) เพื่อขอเชื่อมต่อเครือข่ายผ่าน ISP และผู้ให้บริการก็จะคิดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อตามความเร็วที่ท่านต้องการ เรียกว่า Bandwidth เช่น 2 Mbps แต่ถ้าท่านอยู่ตามบ้าน และใช้สายโทรศัพท์พื้นฐาน ก็จะได้ความเร็วในปัจจุบันไม่เกิน 56 Kbps ซึ่งเป็น speed ของ MODEM ในปัจจุบัน
                IP address คือเลข ชุด หรือ 4 Byte เช่น 203.158.197.2 หรือ 202.29.78.12 เป็นต้น แต่ถ้าเป็นสถาบันการศึกษาโดยทั่วไปจะได้ IP มา 1 Class C เพื่อแจกจ่ายให้กับ Host ในองค์กรได้ใช้ IP จริงได้ถึง 254 เครื่อง เช่น 203.159.197.0 ถึง 203.159.197.255 แต่ IP แรก และ IP สุดท้ายจะไม่ถูกนำมาใช้ จึงเหลือ IP ให้ใช้ได้จริงเพียง 254 หมายเลข
1 Class C หมายถึง Subnet mask เป็น 255.255.255.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 254
1 Class B หมายถึง Subnet mask เป็น 255.255.0.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 66,534
1 Class A หมายถึง Subnet mask เป็น 255.0.0.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 16,777,214
ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต
เป็นแหล่งข้อมูลที่ลึก และกว้าง เพราะข้อมูลถูกสร้างได้ง่าย แม้นักเรียน หรือผู้สูงอายุก็สร้างได้
เป็นแหล่งรับ หรือส่งข่าวสาร ได้หลายรูปแบบ เช่น mail, board, icq, irc, sms หรือ web เป็นต้น
เป็นแหล่งให้ความบันเทิง เช่น เกม ภาพยนตร์ ข่าว หรือห้องสะสมภาพ เป็นต้น
เป็นช่องทางสำหรับทำธุรกิจ สะดวกทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย เช่น e-commerce หรือบริการโอนเงิน เป็นต้น
ใช้แทน หรือเสริมสื่อที่ใช้ติดต่อสื่อสาร ในปัจจุบัน โดยเสียค่าใช้จ่าย และเวลาที่ลดลง
เป็นช่องทางสำหรับประชาสัมพันธ์สินค้า บริการ หรือองค์กร

ประวัติความเป็นมา
ประวัติในระดับนานาชาติ
อินเทอร์เน็ต เป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2503(ค.ศ.1960)
พ.ศ.2512(ค.ศ.1969) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง และในปีพ.ศ.2512 นี้เองได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จาก แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลองแอนเจลิส สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาร์บารา และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีพ.ศ.2518(ค.ศ.1975) จึงเปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่ หน่วยงานการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ(Defense Communications Agency 
ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก IAB(Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ใน Internet IETF(Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น
พ.ศ.2526(ค.ศ.1983) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform และสื่อสารกันได้ถูกต้อง
การกำหนดชื่อโดเมน(Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ พ.ศ.2529(ค.ศ.1986) เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย(Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น
- DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง พ.ศ.2533(ค.ศ.1990) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ(National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน
ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ตัดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก

ประวัติความเป็นมาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เริ่มต้นเมื่อปีพ.ศ.2530(ค.ศ.1987) โดยการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(http://www.psu.ac.th)และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (http://www.ait.ac.th) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย(http://www.unimelb.edu.au) แต่ครั้งนั้นยังเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ (Dial-up line) ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้า และไม่เสถียร จนกระทั่ง ธันวาคม ปีพ.ศ.2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย แห่ง เข้าด้วยกัน (Chula, Thammasat, AIT, Prince of Songkla, Kasetsart and NECTEC) โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่า ไทยสาร(http://www.thaisarn.net.th) และขยายออกไปในวงการศึกษา หรือไม่ก็การวิจัย การขยายตัวเป็นไปอย่างต่อเนื่องจนเดือนกันยายน ปี พ.ศ.2537 มีสถาบันการศึกษาเข้าร่วมถึง 27 สถาบัน และความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตของเอกชนมีมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย (http://www.cat.or.th) เปิดโอกาสให้ภาคเอกชน สามารถเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP - Internet Service Provider) และเปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไป สามารถเชื่อมต่อ Internet ผ่านผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย

เทคโนโลยีไร้สาย BLUETOOTH คืออะไร?
                เทคโนโลยีไร้สาย BLUETOOTH เป็นเทคโนโลยีไร้สายระยะสั้นที่สนับสนุนการสื่อสารข้อมูลแบบไร้สายระหว่างอุปกรณ์ดิจิตอล อย่างเช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และกล้องถ่ายภาพดิจิตอล เทคโนโลยีไร้สาย BLUETOOTH สามารถใช้งานได้ภายในช่วงระยะ 10 เมตร
                การเชื่อมต่ออุปกรณ์สองชิ้นเข้าด้วยกันเป็นรูปแบบการใช้งานตามปกติ แต่อุปกรณ์บางชนิดสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นมากกว่าสองชิ้นได้ในเวลาเดียวกัน
                ท่านไม่จำเป็นต้องใช้สายเคเบิ้ลเพื่อทำการเชื่อมต่อ และไม่จำเป็นต้องวางอุปกรณ์ใกล้กันและหันเข้าหากันเหมือนการใช้เทคโนโลยีอินฟราเรด ตัวอย่างเช่น ท่านสามารถใช้งานอุปกรณ์ได้จากกระเป๋าถือหรือกระเป๋าเสื้อ/กางเกง
                มาตรฐาน BLUETOOTH เป็นมาตรฐานสากลที่ได้รับการสนับสนุนจากหลายพันบริษัททั่วโลก และมีบริษัทจำนวนมากนำไปใช้งานจนแพร่หลายทั่วโลก

ระยะสูงสุดที่สามารถใช้สื่อสารข้อมูล
ระยะสูงสุดที่สามารถใช้สื่อสารข้อมูลอาจสั้นลงได้ในกรณีต่อไปนี้
มีสิ่งกีดขวางอย่างเช่น คนโลหะ หรือกำแพง อยู่ระหว่างอุปกรณ์ที่ใช้กับอุปกรณ์ BLUETOOTH
มีอุปกรณ์ LAN ไร้สายใช้งานอยู่ในบริเวณใกล้กับอุปกรณ์ของท่าน
มีไมโครเวฟใช้งานอยู่ในบริเวณใกล้กับอุปกรณ์ของท่าน
มีอุปกรณ์ที่สร้างรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าใช้งานอยู่ในบริเวณใกล้กับอุปกรณ์ของท่าน

การรบกวนจากอุปกรณ์อื่น
เนื่องจากอุปกรณ์ BLUETOOTH และระบบ LAN ไร้สาย (IEEE802.11b/g) ใช้งานความถี่เดียวกัน อาจทำให้เกิดการรบกวนกันของคลื่นไมโครเวฟได้ ส่งผลให้ความเร็วการสื่อสารข้อมูลลดลงเกิดสัญญาณรบกวน หรือไม่สามารถทำการเชื่อมต่อได้ หากใช้งานอุปกรณ์ของท่านใกล้กับอุปกรณ์ LAN ไร้สาย หากเกิดกรณีดังกล่าว ให้ดำเนินการดังนี้
-          ใช้งานอุปกรณ์ที่ระยะห่างอย่างน้อย 10 เมตรจากอุปกรณ์ LAN ไร้สาย

-          หากใช้งานอุปกรณ์ภายในระยะ 10 เมตรจากอุปกรณ์ LAN ไร้สาย ให้ปิดอุปกรณ์ LAN ไร้สาย

การรบกวนที่มีต่ออุปกรณ์อื่น
คลื่นไมโครเวฟที่แผ่ออกมาจากอุปกรณ์ BLUETOOTH อาจส่งผลรบกวนการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์ได้ ให้ปิดอุปกรณ์ของท่านและอุปกรณ์ BLUETOOTH อื่นในสถานที่ต่อไปนี้ เพราะอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
-          ในบริเวณที่มีก๊าซติดไฟง่ายในโรงพยาบาลรถไฟเครื่องบิน หรือในสถานีบริการน้ำมัน
-          ใกล้ประตูอัตโนมัติหรืออุปกรณ์แจ้งเตือนไฟไหม้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น