วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561

บทที่3 INFORMATION TECHNOLOGY

Network ระบบเครือข่าย เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญอันดับแรก ในระบบสารสนเทศ ท่านผู้อ่านคงจะเคยได้ยินคำว่า Information Super Highway หรือทางด่วนข้อมูล เปรียบได้กับท่อสำหรับการส่งข้อมูล ไปให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ถ้าท่อมีขนาดใหญ่ ก็จะสามารถส่งข้อมูลได้รวดเร็ว สำหรับการวางแผนออกแบบระบบเครือข่ายของโรงพยาบาลในปัจจุบัน ต้องให้ความสำคัญกับ Bandwidth และการรักษาความ ปลอดภัยของระบบเป็นอันดับแรก รวมไปถึงการวางแผนการเชื่อมต่อเครือข่าย กับภายนอก การใช้ระบบเครือข่ายไร้สาย ( Wireless Network ) ควรจะต้องมีการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ อย่างแท้จริง ไม่ควรที่จะไปเชื่อผู้ขายมากนัก เพราะจะถูกวางยา โดยหลอกให้ซื้ออุปกรณ์ที่ตกรุ่น หรือไม่ก็เกินความจำเป็น ไม่เหมาะกับขนาดโรงพยาบาล นอกจากนี้ บางครั้งผู้ขายก็ไม่ได้มีเจตนาที่จะหลอกลวง แต่พนักงานขายไม่ได้เป็นผู้ใช้ ไม่มีความเข้าใจในความต้องการของโรงพยาบาล จึงให้คำเสนอแนะที่ไม่ตรงกับความต้องการของโรงพยาบาล เปรียบเหมือนกับการสร้างบ้าน ต้องดูที่ความต้องการของเจ้าของบ้านเป็นหลัก เพราะจะต้องเป็นผู้ที่อยู่อาศัยไปตลอด ส่วนสถาปนิก หรือผู้รับเหมาเสร็จงานแล้วเขาก็ไป 

             Database ระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล ซึ่งได้แก่ RDBMS ( Relational Database Management System ) ถือเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของระบบสารสนเทศ ผู้บริหารควรจะพิจารณาเลือก RDBMS ที่เหมาะสมกับโรง พยาบาล เพราะเป็นการลงทุนในระยะยาว โดยปัจจัยที่ควรจะคำนึงถึงก็คือ ต้องมีความมั่นคงของระบบ และมีการใช้อย่างแพร่หลาย เพราะจะสามารถหาผู้ดูแล ( Database Administrator ) ได้ง่าย สำหรับ RDBMS นี้ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ผมไม่แนะนำให้ใช้ Open Source เพราะว่า จากประสบการณ์ของผมพบว่า โปรแกรมพวกนี้ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ยังไม่นิ่ง มีการเปลี่ยน Version เร็วมาก และอาจจะมี Bug ที่รุนแรง ที่ยังไม่รู้จัก เมื่อใช้ไปแล้วมีการสูญหายของข้อมูล จะมีมูลค่าความเสียหายในเรื่องของชื่อเสียง และความเชื่อมั่นของผู้รับบริการ เป็นอย่างมาก             

Server ได้แก่เครื่อง Server ซึ่งปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ได้พัฒนาเข้าสู่ยุค 64 Bit แล้ว สำหรับระบบปฎิบัติการ ( Operating System ) ในปัจจุบันก็มี 2 ค่ายใหญ่ๆ ก็คือ Unix Base กับ Window Base ส่วนตัวผมแล้วแนะ นำให้ใช้ Open Source เพราะว่ามีความเสถียรมากกว่า และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก                                        

       Storage ในอดีตการเก็บข้อมูลจะอยู่ใน Hard disk ที่ติดอยู่กับเครื่อง Server แต่ปัจจุบันความต้อง การ Storage ได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบ PACS ทำให้ต้องมีการแยก Storage ออกมาบริหารจัดการต่างหาก ซึ่งต้องมีการออกแบบ วางแผน และการบริหารจัดการที่ดี ถ้าเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็ก มีขนาดข้อมูลไม่มาก ก็สามารถที่จะใช้ Storage ที่ติดตั้งภายในเครื่อง Server แต่ควรจะมีการทำเป็น RAID ( Redundant Arrays Of Inexpensive Disks ) เพื่อประกันความ ปลอดภัยของข้อมูล ในกรณีที่มี Hardware Failure ก็อาจจะเพียงพอ ส่วนโรงพยาบาลขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรงพยาบาลที่มีการวางแผนที่จะนำเอาระบบ PACS มาใช้ ก็ควรจะต้องมีการศึกษา และวางแผน Storage ให้ดี ซึ่งผมขอแนะนำว่า ควรจะต้องพิจารณาใช้ SAN ( Storage Area Network ) หรืออย่างน้อยก็ต้องเป็น NAS ( Network Attached Storage )              

         Security การรักษาความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ ถือเป็นหน้าที่สำคัญที่สุด ของการให้บริการสารสนเทศขององค์กร ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ จำเป็นต้องมีการออกแบบ และวางแผน Implement Security Policy มีคณะกรรมการ Security Committee คอยกำกับและดูแลว่ามีการปฎิบัติตาม ขั้นตอนที่วางไว้ มีระบบตรวจจับการบุกรุก IDS ( Intrusion Detection System ) ระบบป้องกันเครือข่าย ( Firewall ) ระบบ ป้องกันการบุกรุกโจมตีเครือข่าย IPS ( Intrusion Prevention System ) ระบบป้องกันไวรัส ( Anti Virus ) ระบบ ป้องกัน Spyware รวมถึงการวางแผนมาตรการแก้ปัญหาเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินขึ้น

Information Technology Infrastructure
โครงสร้างของ IT จะประกอบด้วย:
สิ่งอำนวยความสะดวกทางกายภาพต่าง ๆ ส่วนประกอบต่าง ๆ ของ IT การให้บริการ ด้านต่าง ๆ ของ IT, และ การบริหารด้าน IT ที่สนับสนุนการปฏิบัติงานทั่วทั้งองค์กร 
องค์หลัก ๆ IT Infrastructure ได้แก่ เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ 1) ด้านฮาร์ดแวร์ 2)ซอฟท์แวร์ 3) สิ่งอำนวยความสะด้วยในด้านโครงข่ายและการสื่อสาร 4) ฐานข้อมูล 5)บุคคลผู้ทำการบริหารจัดการสารสนเทศ และ รวมไปถึง การบริการด้าน IT ประกอบ ด้วย การพัฒนาระบบบริหารข้อมูล และ การรักษาความ ปลอดภัยในส่วนที่เกี่ยวข้อง 
นอกจากนั้น IT Infrastructure ยังประกอบด้วยทรัพยากรต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น รวมไปถึง การประ กอบเข้าด้วยกัน การทำงานร่วมกัน การจัดทำเอกสารต่าง ๆ การดูแลรักษา และ การจัดการ
Information Infrastructure (สรุปได้ดังรูป)
1) Hardware
2) Software
3) Networks & communication facilities
4) Databases
5) IS personnel 


สถาปัตยกรรมของ IT (Information technology architecture) หมายถึง แผนที่หรือ แบบแผนระดับสูงหนึ่ง ๆ ที่แสดงทรัพยากรต่างๆ เกี่ยวข้องกับสารสนเทศในองค์กรหนึ่ง ๆ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงแนวทางของการปฏิบัติงานในปัจจุบัน และเป็นพิมพ์เขียว (blueprint)ของทิศทางที่จะมุ่งไปในอนาคต เพื่อให้มั่นใจได้ว่า โครงสร้างของ IT ในองค์การนั้น ๆ สามารถรองรับกลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัทได้ ในการจัดเตรียม IT architecture ผู้ออกแบบจะต้องมีสารสนเทศอยู่ในมือสองส่วน ได้แก่:
- ธุรกิจนั้นต้องการสารสนเทศอะไร หมายถึง วัตถุประสงค์ต่างๆ ปัญหาต่าง ๆ ของ องค์กร รวมถึงการนำ IT เข้าไปมีส่วนร่วม (สนับสนุน) 
- IT infrastructure ที่มีอยู่แล้ว ถูกวางแผนเอาไว้แล้ว และ การประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ ในองค์กร มีอะไรบ้าง สารสนเทศในส่วนนี้รวมไปถึง ทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว ในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตด้วย 

- เทอม “Information Technology หรือ IT” บางครั้งมันสร้างความสับสนให้กับเรา เหมือนกัน ในเอกสารการสอนนี้ เราจะใช้ในความหมายกว้าง ๆ ดังนี้
- IT หมายถึง การรวบรวมทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศต่างๆ ในองค์กรหนึ่งๆ ผู้ใช้งานต่างๆ และ การบริหารสิ่งที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ทั้งนี้ รวมถึง โครงสร้างของ IT และ ระบบสารสนเทศอื่น ๆ ทั้งหมดในองค์กรนั้น ๆ
โดยทั่วไปแล้ว มักจะใช้สลับไปมาระหว่างคำว่า “information system”

Information Architecture According to Computing Paradigms (Environments) (มองในเชิงของฮาร์ดแวร์)
Computing Environment หมายถึงวิธีการซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ขององค์กร (hardware, software, และ communications technology) ถูกจัดแบ่งและรวมกลุ่มเข้า ด้วยกัน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีที่สุด (optimal efficiency and effectiveness)
1) Mainframe Environment มีใช้น้อยมากขอข้ามไป
2) PC Environment
PC-LANs
Wireless LANs (WLAN)
3) Distribution Computing หมายถึง สถาปัตยกรรมในการคำนวณที่แบ่งงานที่ต้อง ประมวลให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ สองเครื่องหรือมากกว่าทำงานร่วมกัน โดยผ่าน ทางการเชื่อมต่อของโครงข่ายหนึ่ง ๆ บางทีมักเรียกว่า การประมวลผลแบบกระจาย (distributed processing) 
ก) Client / server architecture
ประเภทหนึ่งของ distributed architecture ซึ่งแบ่ง distributed computing units ออกเป็นสองรูปแบบหลัก ๆ คือ ไคลเอ้นท์ (client) และ เซิร์ฟเวอร์ (server) เชื่อมต่อ เข้าด้วยกันโดยโครงข่ายหนึ่ง ๆ 
- ไคลเอ้นท์ (Client) คือ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง (เช่น PC ที่ต่ออยู่กับโครงข่ายหนึ่ง) ที่ใช้สำหรับติดต่อ(access) กับทรัพยากรต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกันผ่านโครงข่าย (shared network resources) 
- เซิร์ฟเวอร์ (Server) คือ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่ต่ออยู่กับโครงข่ายแบบไคลเอ้นท์ / เซิร์ฟเวอร์วงหนึ่ง และให้บริการไคลเอ้นท์ต่าง ๆ หลากหลายรูปแบบ
ข) Enterprise wide computing หมายถึง Computing environment ที่ซึ่งแต่ละ client/ server architecture ถูกใช้ทั่วทั้งองค์กร
ค) Legacy system: ระบบแบบเก่าซึ่งใช้จัดการกับการดำเนินธุรกรรมที่มีอยู่มากมายขององค์กร โดยถือว่าเป็นศูนย์กลางของการทำธุรกิจหนึ่ง ๆ 
ง) เพียร์-ทู-เพียร์ (Peer- to – Peer (P2P)) หมายถึง distribute computing network อันหนึ่งซึ่งแต่ละ client/server computer ใช้แฟ้มข้อมูลต่าง ๆ ร่วมกัน (shares files) หรือ ใช้ computer resources directory ร่วมกับส่วนอื่น ๆ แต่จะต้องไม่ทำตัวเป็นตัว กลางการให้บริการทั้งหมด (central service) (เหมือนกับ traditional client/ server architecture)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น